วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเปลี่ยนแปลงของโลก

    1.ปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยา ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโลก คือ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดแผ่นดินไหวเป็นปรากฎการณ์สั่นสะเทือนหรือการเขย่าของพื้นโลก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ เช่น การทดลองระเบิดปรมาณู การปรับสมดุลเนื่องจากน้ำหนักของน้ำที่กักเก็บในเขื่อน และแรงระเบิดของการทำเหมืองแร่ เป็นต้น
สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวจากธรรมชาติเป็นธรณีพิบัติภัยชนิดหนึ่ง ส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดินอันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อนภายในชั้นเปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลกมีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ อยู่เสมอ ความร้ายแรงอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหวสามารถบอกได้ในรูปของความรุนแรงและขนาดของแผ่นดินไหว แต่ขึ้นอยู่กับผลกระทบของแผ่นดินไหวที่มีต่อความรู้สึกของคน ต่อความเสียหายของอาคารและสิ่งก่อสร้างและต่อสิ่งของธรรมชาติต่างๆ การวัดค่าความเคลื่อนไหวสามารถใช้เครื่องวัดแผ่นดินไหวในรูปของกราฟแผ่นดินไหว
เขตรอยเลื่อนที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดแผ่นดินไหวและมีผลกระทบต่อประเทศไทย ได้แก่ รอยเลื่อนในเขตตะวันตกของประเทศไทย-ตะวันออกของประเทศพม่า (เขตรอยเลื่อนสะแกง เขตรอยเลื่อนพานหลวง รอยเลื่อนทั้งสองมีแนวแยกต่อเนื่องมาทางตะวันตกของประเทศไทย ไล่จากตอนบนลงมาตอนล่าง) สำหรับประเทศไทยแหล่งที่จะมีกำเนิดแผ่นดินไหวจะตกอยู่ในเขตภาคตะวันตกของประเทศไทย ซึ่งเป็นเขตต่อเนื่องมาจากเขตแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวตะนาวศรี (เขต F) และเขตภาคเหนือของประเทศไทย (เขต G) การเกิดแผ่นดินไหวของประเทศไทยจะรู้สึกถึงการสั่นไหวแต่ไม่มีผลกระทบรุนแรง                         

 2.สาเหตุที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกเกิดจากแรงกระทำ 2 ส่วนได้แก่
                    2.1แรงกระทำจากภายในเปลือกโลก เกิดการเคลื่อนตัวของของเหลวภายในเปลือกโลก การหดหรือขยายตัวของของเหลวร้อนภายใต้เปลือกโลกทำให้เกิดแรงดันและปริมาณความร้อนมหาศาลที่กระทำต่อเปลือกโลกได้ 2 ลักษณะ 1) กระบวนการโก่งตัวของเปลือกโลก  2) กระบวนการเคลื่อนตัวของหินละลายภายในเปลือกโลก
                    2.2แรงกระทำจากภายนอกเปลือกโลก เป็นผลเนื่องจากพลังงานของดวงอาทิตย์ที่ผ่านทางตัวกระทำต่างๆ เช่น อากาศ ลม น้ำ หิมะและธารน้ำแข็ง ซึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีและทางกายภาพ ตลอดจนการกระทำของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเปลือกโลก เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกได้ 2 ลักษณะ 1) กระบวนการลดความสูงของเปลือกโลก 2) กระบวนการเพิ่มระดับความสูงของเปลือกโลก
                   การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจามนุษย์ที่มีผลกระทบคือ ระเบิดนิวเคลียร์ เป็นการระเบิดที่มุ่งหวังให้เกิดแสงและความร้อน การทำลายด้วยคลื่นความดันและการแพร่กระจายของวัสดุกัมมันตรังสีที่สามารถปนเปื้อนในอากาศ น้ำ และผิวดิน ลักษณะการแพร่กระจายขึ้นอยู่กับขนาดของอุปกรณ์ ความสูงเหนือพื้นดิน ธรรมชาติของพื้นผิวภายใต้การระเบิด สภาพของอุตุนิยมวิทยาในขณะนั้น ความเร็วและทิศทางของลม

          3. รอยเลื่อนที่สำคัญในประเทศไทย

          ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์เป็นย่านแผ่นดินไหวที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยมีแผ่นเปลือกโลกใกล้เคียงกันรวม 4 แผ่น ได้แก่ แผ่นยูเรเซีย แผ่นแปซิฟิก แผ่นออสเตรเลียและแผ่นฟิลิปปินส์ ยังบรรจบกันของแนวแผ่นดินไหว 2 แนว คือ แนวล้อมมหาสมุทรแปซิฟิกและแนวแอลป์หิมาลัย จึงทำให้เกิดแผ่นดินไหวจำนวนมาก  ส่วนประเทศไทยตั้งอยู่บนแผ่นยูเรเซีย ใกล้รอยต่อระหว่างแผ่นยูเรเซียกับแผ่นอินเดียและแผ่นออสเตรเลีย มีรอยเลื่อนอยู่ทางภาคตะวันตกและภาคเหนือ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตประเทศพม่าและทะเลอันดามัน รอยเลื่อนในประเทศไทยที่สำคัญมีดังนี้
                    3.1รอยเลื่อนภาคตะวันตก ได้แก่ รอยเลื่อนตองจี รอยเลื่อนพานหลวง รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี รอนเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนระนอง-คลองมารุย และรอยเลื่อนเมย-วังเจ้า
                    3.2รอยเลื่อนในภาคเหนือ ได้แก่ รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนเชียงราย รอยเลื่อนแพร่  รอยเลื่อนเถิน  รอยเลื่อนแอ่งแพร่ รอยเลื่อนพะเยา รอยเลื่อนลอง รอยเลื่อนปัว และรอยเลื่อนน้ำปาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น